วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนรู้จาก Google Map Street View



การเรียนรู้จาก Google Map Street View



          Google Maps อีกหนึ่งบริการเด่นของกูเกิลที่หลายๆ คนคุ้นเคย ที่ช่วยให้เราสามารถดูแผนที่ในรูปแบบภาพถ่ายจากดาวเทียม และสำหรับประเทศไทยเพื่อให้การใช้งานบริการแผนที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยจาก Google Maps เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น Google ได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถ่ายรูปเส้นทางต่าง ๆ และสถานที่สำคัญในประเทศไทยมาทำเป็น Street View ลงเว็บไซต์แผนที่ Google Maps โดยถ่ายภาพอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบเคลื่อนที่ โดยติดตั้งบนรถยนต์ รุ่น Subaru Impreza จำนวน 15 คัน ขับตระเวนขับไปตามเส้นทางถนนต่าง ๆ ตามสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย โดยรูปภาพที่ได้จากภาพมุมมอง Google Street View นั้นเป็นภาพรอบ ๆ ถนนที่สามารถชมได้แบบ 360 องศา ซึ่งในปัจจุบันบริการ Google Street View นั้นมีให้บริการแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

         ล่าสุดในประเทศไทยสามารถใช้งาน  Google Street View ได้แล้ว โดยสามารถเข้าไปใช้งานผ่านทาง maps.google.com สำหรับ Google Street  View ขณะนี้สามารถดูเฉพาะในกรุงเทพฯ, ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ และเส้นทางจากกรุงเทพลงสู่ภาคใต้ จนถึงจังหวัดภูเก็ตทั้งจังหวัด ที่สามารถใช้งาน Google Street View ได้ และคาดว่าเส้นทาง รวมถึงสถานที่อื่น ๆ ในจังหวัดอื่น ๆ คงทะยอยอัพเดทเร็ว ๆ นี้  



วิธีการใช้งาน Google Street View Thailand
  1. ให้เราเข้าไปยังเว็บไซต์  http://maps.google.com
 2. จะมีสัญลักษณ์ตุ๊กตาสีส้มที่อยู่ทางซ้ายของแผนที่
 3. ให้เราลากไอคอนตุ๊กตาสีส้ม จากทางด้านซ้ายของแผนที่ไปยังถนน จังหวัด เมืองที่ต้องการที่เป็นเส้นไฮไลท์สีฟ้า
  4. จากนั้นรูปภาพ Street View จะแสดงรูปขึ้นมา เราดูภาพแบบ 360 องศา โดยใช้เมาส์หมุนภาพไปรอบ ๆ ได้ หากต้องการเลื่อนไปยังตำแหน่งอื่น ให้ลากตุ๊กตาสีส้ม จากแผนที่เพื่อเปลี่ยนตำแหน่ง ดูรูปประกอบด้านล่าง

          สำหรับใครที่อยากทราบว่าจังหวัด สถานที่ใดก็ตาม ถูกแสดงบน Google Street View แล้วหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จาก Google Maps Street View เพียงเท่านี้เราก็จะทราบแล้วว่าพื้นที่ไหน จังหวัดไหน มีการอัพเดทของ Google Street View แล้วบ้าง
 ตัวอย่างภาพ










โรงงานรัตนโกสินทร์เครื่องเคลือบดินเผา


การเรียนรู้ศึกษาดูงานจากโรงโอ่งรัตนโกสินทร์ 1

โรงโอ่งรัตนโกสินทร์ 1

กำเนิดโรงงาน
                โรงงานรัตนโกสินทร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.. 2515 โดยคุณรัตนชัย  โฆษะบดี  เป็นผู้ก่อตั้งและบริหารงาน ปัจจุบันนี้บุตรธิดาเป็นผู้บริหารงานแทน ซึ่งเนื้อที่เดิมที่เริ่มก่อตั้งนั้นมีเพียง 7 ไร่ แต่ปัจจุบันได้ขยายกิจการออกเป็นถึง 22 ไร่แล้ว
แหล่งดิน
         1. ดินที่ใช้อยู่เป็นดินท้องนา ก่อนที่จะนำมาใช้จะต้องลอกหน้าดินออกก่อนประมาณ 1-1.5 เมตร แล้วนำมาตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้หรือไม่
                   2. แหล่งดินอยู่ที่ตำบลหลุมดิน ห่างจากโรงงานประมาณ 7-8 กม.
                   3. เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วจะขุดดินนำมาเก็บไว้เพื่อให้ใช้ได้ทั้งปี โดยจะดำเนินการเก็บดินไว้ในช่วง เมษายน-พฤษภาคม

เริ่มขบวนการผลิต
                1. การเตรียมดิน  เราจะนำดินที่เก็บไว้นำไปใส่ในบ่อหมัก แล้วเปิดน้ำใส่ให้เต็มทิ้งไว้ 3 วัน 3 คืน โดยใส่ทรายลงไปผสมด้วยประมาณ 1-2% หลังจากครบกำหนดแล้วนำน้ำออกแล้วนำดินนั้นขึ้นจากบ่อหมัก
                2. การโม่หรือกวนดิน เมื่อเสร็จขั้นตอนการเตรียมดินแล้วก้อจะนำดินใส่ถังกวนหรือเครื่องโม้
                    จุดประสงค์ในการโม่
                                2.1 ทำให้ดินแตกย่อย
                                2.2 ทำให้ดินมีความเหนียวเพิ่มขึ้น
                                2.3 ทำให้ดินเป็นเนื้อเดียวกัน
                3. การขึ้นรูป  จะต้องขึ้นเป็นตอนๆ ชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก เช่น กระถางก็จะขึ้นเป็น 2 ตอน แต่ถ้าเป็นโอ่งซึ่งเป็นของใหญ่ก็จะขึ้นเป็น 3 ตอนเป็นต้น
                การขึ้นรูปของโรงงานเราจะมี 2 วิธี คือ
                                3.1 วิธีแป้นหมุน การขึ้นรูปชนิดนี้ อาศัยความชำนาญของช่าง แรงเหวียงของแป้นหมุน (ซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์) ช่างจะดึงดินให้ได้รูปทรงตามความต้องการ
                                3.2 วิธีขด (ยี) (ทำให้ดินเป็นเส้นกลมๆ) วิธีนี้แตกต่างกับวิธีแป้นหมุนคือ ชิ้นงานอยู่กับที่แต่ช่างจะหมุนไปรอบๆชิ้นงาน การขึ้นรูปวิธีนี้จะใช้ขึ้นกับชิ้นงานใหญ่ๆและขึ้นเป็นตอนๆเหมือนกัน วิธีนี้จะช้ากว่าแป้นหมุนมาก
                วิธีแต่ง (ตีโอ่ง) จะมีอุปกรณ์ในการตีโอ่ง 2 ชิ้นคือ ไม้ตีและไม้รอง
                จุดประสงค์ในการแต่ง
1.               จะทำให้รอยต่อ ติดต่อกันสนิทยิ่งขึ้น
2.               เก็บรอยนิ้วมือของช่างปั้น
3.               ได้รูปทรงตามต้องการ
                4. การติดลาย  ลายประจำจังหวัดราชบุรีคือ ลายมังกร  ส่วนดินที่ใช้ติดลายนั้นเป็นดินที่ได้มาจากจังหวัดสุราษฏร์ธานีผสมกับดินราชบุรี การติดลายก็เพื่อทำให้โอ่งมีสีสันสวยงามมากขึ้น
                5. การเคลือบ  หลังจากติดลายแล้วก็จะนำไปเคลือบ น้ำเคลือบนั้นจะเป็นน้ำเคลือบพื้นเมืองซึ้งได้มาจากขี้เถ้าผสมกับขี้เลน โดยมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกัน
                6. การเผาโอ่ง  หลังจากเคลือบแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห่งสนิทประมาณ 7-10 วันแล้วนำเข้าเตาเผา อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาประมาณ 1,150 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเผาประมาณ 32-36 ชม.  เมื่อได้กำหนดของสุกแล้วก็จะทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 12 ชม. แล้วจึงจะนำออกจากเตาเผา
                การคัดคุณภาพ จะมีการคัดเป็นเกรด A ,B ,C โดยวิธีการเคาะแล้วฟังเสียงจากชิ้นงานได้ออกมาแล้ว

-  เปิดตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็นค่ะ
-  ห้ามถ่ายภาพการทำโอ่ง(เด็ดขาด)นะคะ
-  ถ้าต้องการติดต่อศึกษาดูงาน โอ่งรัตนโกสินทร์ 1  0-3231-6788, 0-3232-1322-3
หรือติดต่อได้ที่ www.potterythai.com
ตั้งอยู่ที่  ทางหลวงหมายเลข 4 ต.โคกหม้อ อ.เมืองราชบุรี

ภาพจากการศึกษาดูงานที่โรงโอ่งรัตนโกสินทร์ 1





















ข้อคำถาม / คำตอบ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่,วิทยากร




นักศึกษา :  การที่จะมาทำงานที่นี่ ต้องมีประสบการณ์ในการปั่นและการวาดลายต่างๆ ได้นั้นต้องมีประสบการณ์ตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป

เจ้าหน้าที่ : การที่จะเข้ามาทำงานการปั่นนั้นต้องมีประสบการณ์ตั้งแต่ 10-20 ปีขึ้นไป เพราะการที่มีประสบการณ์การปั่นหรือการวาดลายนั้นจะทำให้งานออกมาดีและสวยงามมากขึ้น และจะทำให้งานปั่นมีความสมบูรณ์มากขึ้น