วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

โรงงานรัตนโกสินทร์เครื่องเคลือบดินเผา


การเรียนรู้ศึกษาดูงานจากโรงโอ่งรัตนโกสินทร์ 1

โรงโอ่งรัตนโกสินทร์ 1

กำเนิดโรงงาน
                โรงงานรัตนโกสินทร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.. 2515 โดยคุณรัตนชัย  โฆษะบดี  เป็นผู้ก่อตั้งและบริหารงาน ปัจจุบันนี้บุตรธิดาเป็นผู้บริหารงานแทน ซึ่งเนื้อที่เดิมที่เริ่มก่อตั้งนั้นมีเพียง 7 ไร่ แต่ปัจจุบันได้ขยายกิจการออกเป็นถึง 22 ไร่แล้ว
แหล่งดิน
         1. ดินที่ใช้อยู่เป็นดินท้องนา ก่อนที่จะนำมาใช้จะต้องลอกหน้าดินออกก่อนประมาณ 1-1.5 เมตร แล้วนำมาตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้หรือไม่
                   2. แหล่งดินอยู่ที่ตำบลหลุมดิน ห่างจากโรงงานประมาณ 7-8 กม.
                   3. เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วจะขุดดินนำมาเก็บไว้เพื่อให้ใช้ได้ทั้งปี โดยจะดำเนินการเก็บดินไว้ในช่วง เมษายน-พฤษภาคม

เริ่มขบวนการผลิต
                1. การเตรียมดิน  เราจะนำดินที่เก็บไว้นำไปใส่ในบ่อหมัก แล้วเปิดน้ำใส่ให้เต็มทิ้งไว้ 3 วัน 3 คืน โดยใส่ทรายลงไปผสมด้วยประมาณ 1-2% หลังจากครบกำหนดแล้วนำน้ำออกแล้วนำดินนั้นขึ้นจากบ่อหมัก
                2. การโม่หรือกวนดิน เมื่อเสร็จขั้นตอนการเตรียมดินแล้วก้อจะนำดินใส่ถังกวนหรือเครื่องโม้
                    จุดประสงค์ในการโม่
                                2.1 ทำให้ดินแตกย่อย
                                2.2 ทำให้ดินมีความเหนียวเพิ่มขึ้น
                                2.3 ทำให้ดินเป็นเนื้อเดียวกัน
                3. การขึ้นรูป  จะต้องขึ้นเป็นตอนๆ ชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก เช่น กระถางก็จะขึ้นเป็น 2 ตอน แต่ถ้าเป็นโอ่งซึ่งเป็นของใหญ่ก็จะขึ้นเป็น 3 ตอนเป็นต้น
                การขึ้นรูปของโรงงานเราจะมี 2 วิธี คือ
                                3.1 วิธีแป้นหมุน การขึ้นรูปชนิดนี้ อาศัยความชำนาญของช่าง แรงเหวียงของแป้นหมุน (ซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์) ช่างจะดึงดินให้ได้รูปทรงตามความต้องการ
                                3.2 วิธีขด (ยี) (ทำให้ดินเป็นเส้นกลมๆ) วิธีนี้แตกต่างกับวิธีแป้นหมุนคือ ชิ้นงานอยู่กับที่แต่ช่างจะหมุนไปรอบๆชิ้นงาน การขึ้นรูปวิธีนี้จะใช้ขึ้นกับชิ้นงานใหญ่ๆและขึ้นเป็นตอนๆเหมือนกัน วิธีนี้จะช้ากว่าแป้นหมุนมาก
                วิธีแต่ง (ตีโอ่ง) จะมีอุปกรณ์ในการตีโอ่ง 2 ชิ้นคือ ไม้ตีและไม้รอง
                จุดประสงค์ในการแต่ง
1.               จะทำให้รอยต่อ ติดต่อกันสนิทยิ่งขึ้น
2.               เก็บรอยนิ้วมือของช่างปั้น
3.               ได้รูปทรงตามต้องการ
                4. การติดลาย  ลายประจำจังหวัดราชบุรีคือ ลายมังกร  ส่วนดินที่ใช้ติดลายนั้นเป็นดินที่ได้มาจากจังหวัดสุราษฏร์ธานีผสมกับดินราชบุรี การติดลายก็เพื่อทำให้โอ่งมีสีสันสวยงามมากขึ้น
                5. การเคลือบ  หลังจากติดลายแล้วก็จะนำไปเคลือบ น้ำเคลือบนั้นจะเป็นน้ำเคลือบพื้นเมืองซึ้งได้มาจากขี้เถ้าผสมกับขี้เลน โดยมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกัน
                6. การเผาโอ่ง  หลังจากเคลือบแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห่งสนิทประมาณ 7-10 วันแล้วนำเข้าเตาเผา อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาประมาณ 1,150 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเผาประมาณ 32-36 ชม.  เมื่อได้กำหนดของสุกแล้วก็จะทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 12 ชม. แล้วจึงจะนำออกจากเตาเผา
                การคัดคุณภาพ จะมีการคัดเป็นเกรด A ,B ,C โดยวิธีการเคาะแล้วฟังเสียงจากชิ้นงานได้ออกมาแล้ว

-  เปิดตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็นค่ะ
-  ห้ามถ่ายภาพการทำโอ่ง(เด็ดขาด)นะคะ
-  ถ้าต้องการติดต่อศึกษาดูงาน โอ่งรัตนโกสินทร์ 1  0-3231-6788, 0-3232-1322-3
หรือติดต่อได้ที่ www.potterythai.com
ตั้งอยู่ที่  ทางหลวงหมายเลข 4 ต.โคกหม้อ อ.เมืองราชบุรี

ภาพจากการศึกษาดูงานที่โรงโอ่งรัตนโกสินทร์ 1





















ข้อคำถาม / คำตอบ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่,วิทยากร




นักศึกษา :  การที่จะมาทำงานที่นี่ ต้องมีประสบการณ์ในการปั่นและการวาดลายต่างๆ ได้นั้นต้องมีประสบการณ์ตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป

เจ้าหน้าที่ : การที่จะเข้ามาทำงานการปั่นนั้นต้องมีประสบการณ์ตั้งแต่ 10-20 ปีขึ้นไป เพราะการที่มีประสบการณ์การปั่นหรือการวาดลายนั้นจะทำให้งานออกมาดีและสวยงามมากขึ้น และจะทำให้งานปั่นมีความสมบูรณ์มากขึ้น








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น